วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
ลักษณะของสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular) ที่กลุ่มเซลล์รวมตัวเป็น
เนื้อเยื่อ (tissue) อวัยวะ (organ) และระบบอวัยวะ (system) เซลล์ไม่มีผนังเซลล์ ไม่มีคลอ
โรฟิล มีระบบประสาท เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า
Phylum Porifera (Sponge : ฟองนํ้า)




ักษณะทั่วไป : มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น มีรูพรุนรูด้านข้าง เป็นทางนํ้าเข้า รู้ด้านบนเป็นทางนํ้าออก มีโครงร่างแข็ง (spiacle) ซึ่งอาจเป็น calcium silicon หรือโปรตีนขึ้นอยู่กับชนิดของฟองนํ้า ไม่มีอวัยวะ มีเซลล์พิเศษทําหน้าที่แทนอวัยวะ ได้แก่choanocytes (collar cell) ในเยื่อชั้นในทําหน้าที่จับอาหาร amoebocytes อยู่ในmesoglea ทําหน้าที่ลําเลียงอาหาร และ
เซลล์สืบพันธุ์ บางชนิดใช้ถูตัว ในทางเภสัชวิทยามีการวิจัยพบสารเคมีในฟองนํ้ามีคุณสมบัติทางยาในการยับยั้งเซลล์มะเร็งหรือจุลินทรีย์บางชนิด

Phylum Coelenterata (Sea anemone coral hydra jelly fish)


ลักษณะทั่วไป : มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น มีช่องว่างในลําตัวทําหน้าที่ย่อยอาหาร คือgastrovascularcavity มีปากไม่มีทวารหนัก รอบปากมีหนวด (tentacle) ซึ่งมีเซลล์ที่สร้างเข็มพิษ(nematocyst) ใช้แทงเหยื่อให้สลบและเป็นอัมพาต มีเส้นประสาทเป็นร่างแหไม่มีสมองหรือศูนย์รวมประสาท สืบพันธุ์แบบสลับช่วงสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีรูปร่างเป็นmedusa และช่วงสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศมีรูปร่างเป็น polyp สัตว์ในไฟลัมนี้บางชนิดใช้เป็นอาหาร เช่น แมงกระพรุน แต่บางชนิดมีอันตรายมาก เช่น แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนรบโปรตุเกส

Phylum Platyhelminthes (Flat worms : Planaria Liver Fluke Tapeworm)





ลักษณะทั่วไป : มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ลําตัวแบนด้านหลังและท้อง (Dorsoventral)ร่างกายมีหลายชิ้นส่วนคล้ายกับปล้องในไส้เดือน ระบบย่อยอาหารไม่สมบูรณ์มีแต่ปากไม่มีทวารหนัก ในตัวตืดไม่พบระบบทางเดินอาหารที่ชัดเจน กําจัดของเสียโดยใช้เซลล์พิเศษ คือ flame cell พวกที่เป็นปรสิตมีอวัยวะยึดเกาะที่เจริญมากได้แก่ sucker และ/หรือ hook นอกจากนี้ยังมี cuticle เคลือบผิวตัวหนา ส่วนใหญ่ทําให้เกิดโรคพยาธิซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพและเศรษฐกิจ

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
สิ่งมีชีวิตที่จัดเป็นพืช เป็นพวกหลายเซลล์ (multicellular organism) ที่กลุ่มเซลล์
พัฒนาเป็นเนื้อเยื่อที่ทําหน้าที่เฉพาะอย่าง โครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์ประกอบด้วยเซลล์
ที่จะเจริญไปเป็นเซลล์สืบพันธุ์จะถูกห่อหุ้มด้วยเซลล์ที่เป็นหมัน การเจริญของไซโกตไป
เป็นต้นสปอโรไฟต์ (Sporophyte) จะผ่านระยะเอมบริโอ เซลล์มีคลอโรฟิลอยู่ในพลาสติด

เป็นพวกที่มีวงชีวิตแบบสลับ (alternation of generation)

อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)

อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)
ฟังไจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์ไม่มีคลอโรฟิลลักษณะเซลล์เป็นเส้นใย (hypha) เป็น
พวกหลายเซลล์รวมเป็นกลุ่มเส้นใยเรียกว่า ไมซีเลียม (mycelium) ผนังเซลล์เป็นสารพวก
ลิกนิน และสารอื่น ๆ เช่น ไคติน แคลโลส และเซลลูโลส ส่วนใหญ่ดํารงชีวิตเป็นแบบภาวะ
มีการย่อยสลาย (Saphophytism) บางชนิดเป็นปรสิต และภาวะที่ต้องพึ่งพา เช่น อยู่
ร่วมกับสาหร่ายในพวกไลเคนส์ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
Phylum Zygomycota

ลักษณะทั่วไป : เป็นเซลล์เดียว mycelium ไม่มีผนังกั้นตามขวาง สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์ และสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยวิธี Conjugation ราบางชนิดมีประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตกรดฟูมาริกผลิตอัลกอฮอล์ ราบางชนิดทําให้เกิดโรคพืช เช่น รานํ้าค้างในกะหลํ่า และองุ่น
Phylum Ascomycota


ลักษณะทั่วไป : mycelium มีผนังกั้นตามขวางสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์

conidia บน sterigma สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้าง ascospore จํานวน 4 หรือ 8 ภายในถุง (ascus) โดยวิธีสร้างเซลล์อิสระ (free cellformation)ราใน class นี้มีประโยชน์ในอุตสาหกรรมหมักเหล้าเบียร์ ทําขนมปัง เต้าเจี้ยว อัลกอฮอล์ บ่มเนย ผลิตกรดอินทรีย์ วิตามิน และยาปฏิชีวนะชนิดที่ทําให้เกิดโทษ ได้แก่ ราที่ผลิตสารพิษ afla toxin โรคระบบหายใจ และโรคพืชได้แก่ Aspergillus Sp. Penicillium Sp.

อาณาจักรโปรตีสตา (Kingdom Protista)

อาณาจักรโปรตีสตา (Kingdom Protista)
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรตีสตาเป็นพวกเซลล์ยูคาริโอต มีทั้งชนิดเซลล์เดียวหรือ
หลายเซลล์ที่ไม่มี differentiation ได้แก่ สาหร่าย (algae) ไลเคนส์ (Lichens) ราเมือก
(slime mold) และโปรโตซัว (Protozoa)
สาหร่าย (algae)
สาหร่ายเป็นเซลล์ที่มี chlorophyll และสารอื่น ๆ มีโครงสร้างของอวัยวะที่สร้าง
เซลล์สืบพันธุ์เป็นเซลล์เดียว สืบพันธุ์ได้ทั้งไม่อาศัยเพศและอาศัยเพศ โดยไซโกต เจริญ

เป็นสาหร่ายหน่วยใหม่โดยไม่ผ่านระยะเอมบริโอ

อาณาจักรโมนีรา (Monera Kingdom)

อาณาจักรโมนีรา (Monera Kingdom)
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโมนีราเป็นพวกเซลล์ยูคาริโอต มี 2 กลุ่ม คือ แบคทีเรีย และ
สาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน
*  แบคทีเรีย (Bacteria)
แบคทีเรีย จัดอยู่ในไฟลัมซิโซไมโคไฟตา (Phylum Schizomycophyta) ลักษณะ
สําคัญคือ ผนังเซลล์ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน บางชนิดมีสารสีที่จับ
พลังงานแสงได้ คือ bacterio chlorophyll จึงสามารถสร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์
ด้วยแสงได้ ไม่มี mitochondria แต่มี Mesosome มีรูปร่างของเซลล์ 3 แบบ คือ ลักษณะกลมหรือรี (coccus) ลักษณะแท่งทรงกระบอก (rodหรือ bacillus) และลักษณะเป็นเกลียว (Spirillum)แบคทีเรียสามารถสร้างเกาะขึ้นภายในเซลล์คือ เอนโดสปอร์ (endospore) เมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมหรือเมื่อได้รับการกระตุ้นทางเคมีหรือ
ฟิสิกส์ เป็นกรดไดพิโคลินิก (dipicolinic acid ; DPA)

ซึ่งไม่พบในเซลล์ปกติทั่วไป

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต
               แนวความคิดการจําแนกสิ่งมีชีวิตเป็นการจัดสิ่งมีชีวิตตามลักษณะของเซลล์และองค์ประกอบทางเคมี ระดับเซลล์ที่เหมือนกันหรือคล้ายกันมากที่สุดจะจัดอยู่ในอาณาจักร(Kingdom) เดียวกัน ปจจุบันมีการจัดสิ่งมีชีวิตเป็น 3-5 อาณาจักรวิทเทเคอร์ (Whittaker : 1969) แบ่งสิ่งมีชีวิตเป็น 5 อาณาจักร คือ อาณาจักรโมนีรา(Monera Kingdom) อาณาจักรโปรติสต้า (Protista Kingdom) อาณาจักรฟังไจ (FungiKingdom) อาณาจักรพืช (Plant Kingdom) และอาณาจักร (Animal Kingdom)
         นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์พบว่าสิ่งมีชีวิตพวกไวรัสและไวรอยด์มีลักษณะแตกต่าง
จากสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรอื่นๆเป็นอย่างมากไม่มีเซลล์ ดํารงความมีชีวิตโดยการอาศัย

อยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น และทวีจํานวนได้ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์บางคนจึงจัดไวรัสและไวรอยด์ไว้เป็นอาณาจักรหนึ่งคือ อาณาจักรไวรา (Vira Kingdom)

ลําดับในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

ลําดับในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
ลําดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตจัดเรียงจากกลุ่มใหญ่ลงไปกลุ่มย่อยคือ KingdomPhylum
 (หรือ Division) Class Order Family Genus และ Species
สปีชีส์ (species) เป็นหน่วยพื้นฐานในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วย
ประชากรที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทางบรรพบุรุษ สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันจะมี

อวัยวะที่มีโครงสร้างและหน้าที่อย่างเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์กันได้ลูกที่ไม่เป็นหมัน